ข่าวสาร/ประชาสัมพันธ์

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรฮ่อมลมจอย อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ทีมผู้ดำเนินโครงการคลินิกเทคโนโลยีแพลตฟอร์ม BCE "ร้อยรักตี๋ฮ่อมลมจอย"

9 ครั้ง

07/11/2024 เวลา 14:13:36 น.

วิเคราะห์ประเด็นความต้องการรับบริการ บ้านม่วงชุม อ.เชียงของ
3 กันยายน 2567 มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงรายร่วมกับสถาบันสารสนเทศน้ำกระทรวง​ อว. ลงพื้นที่ บูรณาการความร่วมมือการพัฒนาอาชีพให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านม่วงชุม​ตำบลครึ่ง​ อำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย 
สืบเนื่องจากสถาบันสารสนเทศน้ำ กระทรวง อว.ได้ดำเนินกิจกรรมการบริหารจัดการน้ำให้กับชุมชนบ้านม่วงชุม ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จนสำเร็จลุล่วงชุมชน มีน้ำ ใช้สำหรับอุปโภคบริโภคและการเกษตรอย่างยั่งยืนและมั่นคง ส่งผลให้เกิดอาชีพในชุมชนอย่างหลากหลาย เช่น การทำสวนลำไยแปลงใหญ่ การทำสวนมะนาว และกลุ่มวิสาหกิจจักสานจากหวาย ซึ่งชุมชนสนใจที่จะต่อยอดเพื่อให้อาชีพดังกล่าวมีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับมาตรฐานและจำหน่ายในตลาดต่างๆ​ ได้อย่างกว้างขวาง เพื่อให้สมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจมีรายได้เพื่อที่จะเลี้ยงดูครอบครัวต่อไป 
ในการนี้มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย นำโดยผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.จำรัส กลิ่นหนู รองอธิการบดี กำกับดูแลงานทางด้านอุทยานวิทยาศาศตร์​ และคลินิกเทคโนโลยี ได้นำ ทีมนักวิจัยที่มีทักษะความชำนาญ ทางด้านการผลิตเครื่องจักร นักวิจัยที่มีทักษะ และเชี่ยวชาญ ในเรื่องของการแปรรูปผักผลไม้ นักวิจัยที่มีทักษะความชำนาญทางด้านการเกษตร ลงพื้นที่ ให้คำปรึกษาแนะนำแก่สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและ เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อที่จะนำมาเป็นใช้เป็นแนวทางในการวางแผนและพัฒนาต่อยอดอาชีพของสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจทั้งสามกลุ่มของบ้านม่วงชุมตำบลครึ่งอำเภอเชียงของจังหวัดเชียงรายต่อไป 

38 ครั้ง

07/10/2024 เวลา 13:44:04 น.

Clinic Technology CRRU
ท้องฟ้าที่มืดสนิท ย่อมทำให้เราสามารถมองเห็นแสงดาวบนฟากฟ้าได้แจ่มชัด ท่านใดสนใจพัฒนาการท่องเที่ยวแนบอิงธรรมชาติ แหงนมองท้องฟ้า มือเอื้อมคว้าดวงดาว และสัมผัสทางช้างเผือก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มีทีมศึกษาวิจัย และผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ฟ้ามืดยินดีให้คำแนะนำ และคำปรึกษา

มาค่ะมา! ชาวเชียงรายมาส่องกันดูว่า ตำบลใครฟ้ามืดกว่ากัน ใครอยู่สีเขียว-เหลือง-ส้ม ยินดีด้วย คุณยังสามารถมองเห็นทางช้างเผือกที่บ้าน แต่ใครอยู่สีแดง-ขาว หมดสิทธิ์ค่า 

ถึงเวลาที่เราต้องช่วยกันอนุรักษ์พื้นที่ ๆ ควรอนุรักษ์...เราเริ่มจากสร้างแผนที่ฟ้ามืดของเชียงรายก่อนเป็นที่แรก และจะขยับสู่แอปพลิเคชันแบบจำลองฟ้ามืดแบบเรียลไทม์เพื่อการท่องเที่ยวเชียงราย และ (หวังว่า) จะจบด้วยแผนที่ฟ้ามืดของประเทศไทยต่อไป
โหลดงานวิจัย Changruenngam et al. (2024) ได้จากลิ้งค์

39 ครั้ง

07/08/2024 เวลา 17:44:26 น.

Clinic Technology CRRU
เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ภายใต้โครงการแพลตฟอร์พัฒนาเชียงดาภูผึ้งหลวง นำทีมโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพวรรณ ประเสริฐสินธุ์ และคณะดำเนินโครงการ พาผู้ประกอบการสมุนไพรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภูผึ้งหลวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการเพาะปลูก การพัฒนาอาหารและผลิตภัณฑ์จากเชียงดา การสร้างเครือข่ายชุมชนอย่างเข้มแข็ง ณ บ้านฮักน้ำจาง ต.แม่ทะ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง
ในการนี้ขอกราบขอบพระคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปริญญาวดี ศรีตนทิพย์ และรองศาสตราจารย์ ดร.ชิติ ศรีตนทิพย์ และทีมชุมชน ฮักกรีนที่ได้ให้ความกรุณาอย่างสูงในการ ให้ความรู้ และบรรยากาศที่อบอุ่นในการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ และแรงบันดาลใจในการพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการสมุนไพรให้ดียิ่งขึ้นไป

22 ครั้ง

07/08/2024 เวลา 17:34:31 น.

Clinic Technology CRRU
โครงการร้อยรักตี๋ฮ่อมลมจอย (ปี2 พันรักตี๋ฮ่อมลมจอย) หนึ่งในโครงการคลินิกเทคโนโลยี เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณแพลตฟอร์ม BCE2567
ขอแสดงความยินดี กับวิสาหกิจชุมชนเกษตรฮ่อมลมจอย ต.ธารทอง อ.พาน จ.เชียงราย ในการได้รับการรับรองเป็นสถานที่ขึ้นทะเบียนเป็นเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด จากสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ซึ่งเป็นการยืนยันความพร้อมของสถานที่ในการเป็น “แหล่งท่องเที่ยวเชิงดาราศาสตร์ในประเทศไทย” ที่มีความพร้อมตามหลักเกณฑ์กำหนด เช่น คุณภาพท้องฟ้า การบริหารจัดการแสงสว่าง และความเหมาะสมของพื้นที่สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ เป็นที่แรกในจังหวัดเชียงราย !!!
โดยการดำเนินกิจกรรมของโครงการพันรักตี๋ฮ่อมลมจอย ได้ผลักดันทั้งการสร้างมัคคุเทศก์ชุมชนที่ประกอบด้วยสมาชิกในกลุ่ม เยาวชนและประชาชนใน หมู่บ้าน การถ่ายทอดเทคโนโลยีในการดูดาว และกิจกรรมอื่นๆ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่สร้างจุดเด่นให้กับ วิสาหกิจชุมชนเกษตรฮ่อมลมจอยอย่างต่อเนื่อง
+++ สร้างแรง สานฝัน ให้มือเอื้อมไปถึงดวงดาว +++
ในการนี้ ทีมผู้ดำเนินโครงการ ประกอบด้วย อาจารย์ ดร.ธนายุทธ ช่างเรือนงาม หัวหน้าโครงการ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ฟ้ารุ่ง สุรินา บุญทิศ ได้ร่วมเดินทางไปกับตัวแทนของชุมชนเพื่อรับโล่ และการรับรองดังกล่าว ในวันที่ 1 สิงหาคม 2567 ณ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

113 ครั้ง

07/08/2024 เวลา 17:33:56 น.

ประชาสัมพันธ์/เอกสารดาวน์โหลด
ดูเพิ่มเติม...