วันที่ 17 พฤศจิกายน 2567
เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย นำโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยพร ศรีสม คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/ ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี
ทีมคณะกรรมการฯ และคณะผู้ดำเนินโครงการเข้าร่วมกิจกรรมขับเคลื่อนการท่องเที่ยวท้องฟ้ามืด และการ
"เสวนากลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวท้องฟ้ามืดจังหวัดเชียงราย" ณ วิสาหกิจชุมชนฮ่อมลมจอย ตำบาลธารทอง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
ภายในงานได้มีการเสวนา โดยองค์กรและภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญในการผลักดันการท่องเที่ยวท้องฟ้ามืดในอนาคต ได้แก่

คุณอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย

คุณวิสูตร บัวชุม ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานเชียงราย

คุณประธาน อินทรียงค์ ผู้อำนวยการสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยพร ศรีสม คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/ ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ฟ้ารุ่ง สุรินา บุญทิศ ผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์ และ อาจารย์ ดร.ชฎาพัศฐ์ สุขกาย ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวเป็นผู้ดำเนินกิจกรรม
นอกจากนี้ เครือข่ายคลินิกเทคโนโลยียังดำเนินการแสดงผลการดำเนินงานโครงการทั้ง 12โครงการภายใต้แพลตฟอร์มต่างๆ ได้แก่ NCB SCI และ BCE
ที่ดำเนินงานในช่วงปี2566-2567 อาทิ

โครงการ BCE "กล้วยดีเวียงชัย" โดย อาจารย์ชญานิน วังตาล และคณะ

โครงการ BCE "การพัฒนานวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสุรากลั่นและน้ำส้มสายชูหมักจากสับปะรด GI จังหวัดเชียงราย" โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์. นิเวศ จีนะบุญเรือง

โครงการ BCE "การใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวในชุมชนบ้านร่องปลายนา ตำบลบัวสลี อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย" โดย อาจารย์วัฒนพล อยู่สวัสดิ์

โครงการ BCE "NATTO" โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วาสนา แก้วโพธิ์ และคณะ

โครงการ BCE "การเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์เชียงดาภูผึ้งหลวง" โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพวรรณ ประเสริฐสินธุ์ และคณะ

โครงการ BCE "การพัฒนาศักยภาพการผลิตและแปรรูป 8974 Crispy Rice อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย" โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริพรรณ จีนะบุญเรือง

โครงการ SCI "ชุมชนเกษตรชุมชนสามัคคีเกษตรอินทรีย์ฟาร์ม ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย"

โครงการ NCB "การพัฒนาผู้นำและเครือข่ายเกษตรปลอดภัยตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) และ Eco Rice จังหวัดเชียงราย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กษิดิศ ใจผาวัง
ซึ่งการจัดแสดงผลงานได้รับความสนใจจากผู้เยี่ยมชมงาน และก่อให้เกิดการเข้าถึงที่มากขึ้นของกลุ่มผู้ที่สนใจขอรับบริการในอนาคต
นอกจากนี้ในงานยังมีการจัดแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์จากผู้ประกอบการท้องถิ่น และการสร้างความประทับใจก่อนปิดงานโดยการสัมผัสการดูดาวด้วยกล้องโทรทรรศน์พร้อมการรับฟังเรื่องราวเกี่ยวกับดาวโดยมัคคุเทศก์ท้องถิ่น และผู้เชี่ยวชาญด้านดาราศาสตร์